เอลนีโญ (El Niño) สร้างสถิติปีแห่งความแห้งแล้ง

Author:

ช่วงที่ผ่านมานี้ “ประเทศไทยเจอกับลานีญาติดต่อกัน 3 ปี” ทำให้ฝนมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติต่อเนื่องมาจนถึงเดือน ก.พ. 2566 “สภาพอากาศเข้าสู่เส้นศูนย์สูตรเป็นค่าปกติ” ปริมาณฝนกลับมามีค่าเฉลี่ยปกติ หรือฝนตก น้อยกว่าปีที่แล้ว “แต่ก็ยังไม่เจอภัยแล้งที่น่ากังวลนัก” เพราะด้วยเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านลานีญา La Niña เข้าสู่เป็นเอลนีโญ El Niño

The El Niño phenomenon is currently replacing the La Niña phenomenon, exacerbating the effects of global warming by causing warm ocean currents to flow towards South America, resulting in drought conditions in Southeast Asia and Australia. This could lead to a severe water shortage for the following five to six years if the current trend continues. Climate change is undeniably one of the critical factors. Despite years of discussion and debate, there has been no significant agreement or concrete actions to address this issue.


ปรากฎการณ์ลานีญา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลพวงจากภาวะโลกร้อน ยังไม่หยุดสร้างความปั่นป่วนให้กับสถานการณ์ทางภูมิศาสตร์ของโลก แม้จะสร้างสถิติแห่งการทำลายล้างใหม่ ที่ทำให้เกิดฝนตกหนักและอากาศหนาวเย็นในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกติดต่อกันนานผิดปกติถึง 3 ปี รวมไปถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่สร้างความเสียหายรุนแรงที่เอเซียกลาง อย่างปากีสถาน หรือที่ไนจีเรีย ทวีปอาฟริกา กระทบวิถิชีวิตผู้คนนับล้าน

แต่ที่กำลังจะเข้ามาแทนที่คือปรากฏการณ์เอลนีโญ ก็ดูเหมือนจะหนักหนาสาหัสไม่แพ้กัน เอลนิโญจะทำให้เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหล ไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง

การเกิดเอลนีโญจะทำให้เกิดสภาพอากาศเลวร้าย อย่างเช่น คลื่นความร้อนและภัยแล้งเป็นบริเวณกว้าง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก และปรากฏการณ์นี้ยังสามารถผลักดันให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นได้อีกราว 0.2 องศาเซลเซียส จึงนับว่าเสี่ยงและหมิ่นเหม่ต่อการทำให้โลกร้อนขึ้นจนเกินขีดจำกัด

โดยเฉพาะกับประเทศไทย เพราะด้วยเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านลานีญา La Niña เข้าสู่เป็นเอลนีโญ El Niño ทำให้ปริมาณฝนจะลดลงแม้เป็นช่วงฤดูฝนก็ตาม “น้ำฝนน่าจะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติราว 20%” ทำให้ปีหน้าจะเป็นปีแห่งการเริ่มต้นวิกฤติภัยแล้งหนักแน่นอน โดยจะส่งผลทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนน้ำสะสมตั้งแต่ปี 2567-2671 หรือต่อเนื่องจากปีนี้ไปอีก 5-6 ปีข้างหน้า

ปัจจัยสำคัญคือ “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ตามที่ทำงานกับคณะทำงานระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ทำการประเมินความรุนแรงของอุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศา ที่นักวิทยศาสตร์โลก ดูเหมือนจะรู้และพูดคุย ประชุมหารือ ถกเถียงกันมาบนเวทีโลกมาหลายปีดีดัก แต่ก็ไม่ได้มีข้อตกลง และก็ยิ่งไม่ได้มีการนำไปปฎิบัติให้เป็นรูปธรรมอะไรมากมาย

ในที่สุด ภาวะร้อนโลกก็ส่งผลให้ในอดีต สภาวะลานีญาที่มักเกิดขึ้นทุก 2-3 ปี และปกติจะส่งผลต่อภูมิอากาศอยู่เพียง 9-12 เดือน แต่ในช่วงหลายปีมานี้ สภาพอากาศแปรปรวนจากโลกร้อนให้ในปี 2563-2565 ทำให้เกิดลานีญายาวนาน 3 ปี เช่นเดียวกับ “สภาวะเอลนีโญ” ที่จะเกิดขึ้นเฉลี่ยทุก 5-7 ปี และมักส่งผมอิทธิพลรุนแรงต่อสภาพอากาศ เพียงแค่ปีเดียว แต่นี้มารอบนี้ มีความเห็นสอดคล้องกันจากนักวิทยาศาตร์ และผู้เชี่ยวชาญทางภูมิศาสตร์จากทั่วโลกว่า สภาพความแห้งแล้ง เพราะปรากฎการณ์เอลนีโญที่จะเกิดขึ้นรอบนี้ จะเข้าขั้นวิกฤติ และมีความน่าจะเป็นว่าจะเกิดยาวนานต่อเนื่อง5–6 ปี  และจะสร้างภัยคุกคามต่อความเป็นอยู่ การดำรงชีพของพลเรือนโลก ซึ่งรวมทั้งคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในอดีต 


ฉะนั้น เกษตรกรควรให้ความสนใจเรื่องบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง เช่น ลดพื้นที่การปลูกข้าวนาปรัง และหันไปเพาะปลูกพืชอายุสั้นที่มีความต้องการใช้น้ำน้อยแทน และมีการการนําเทคโนโลยี หรือผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมประหยัดน้ำเข้ามาเสริม เพื่อให้สามารถรักษาพืชไร่ที่ลงทุนลงแรงปลูก และลดความเสี่ยงของผลผลิตเสียหายจากภัยแล้งได้


แหล่งอ้างอิง :
theguardian.com
manageronline.com
thairath.co.th
legacyias.com

Please follow and like us:
error
fb-share-icon