โลกร้อน ผืนดินเสื่อมโทรม
การเพิ่มของประชากร ในอัตรา แบบก้าวกระโดด การใช้ทรัพยากรเกินสมดุล สร้างภาวะโลกร้อน และส่งผลกระทบต่อระบบการเพาะปลูกของโลกเราโดยตรง ด้วยอุณหภูมิที่แปรปรวน ฝนฟ้าไม่ตกตามฤดูกาล ปริมาณน้ำฝนน้อยลง ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน แม่น้ำหลายสายเหือดแห้งลงจนแทบไม่เหลือสายน้ำไหล
ปกติ น้ำไหลลงจากป่าเขาลำห้วยในที่สูงลงมาสู่ที่ราบลุ่มต่ำ พร้อมกับพัดพาตะกอนดิน เศษวัสดุ กิ่งไม้ใบหญ้าพร้อมธาตุอาหารใหม่ที่ได้จากการเน่าเปื่อยผุผังของอินทรีย์สาร เช่นซากพืชซากสัตว์ ทับถมสะสมอยู่ในดินในป่าบนเขา และนำพาตะกอนมารวมกันและไหลลงมาตามสายทางน้ำ ลงจากในพื้นที่เพาะปลูกเบื้องล่าง น้ำแล้งฝนน้อยทำให้น้ำไม่มี หรือมีน้อย การเติมเต็มหรือแลกเปลี่ยนธาตุอาหารและฟื้นฟูสภาพดินในแต่ละปีก็ลดน้อยลง หรือขาดหายไปโดยสิ้นเชิง ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อน้ำน้อยและดินแห้งแล้ง ต้นไม้ทั้งหมก็จะประสพปัญหาเพิ่มเติม เนื่องจากความชื้นในดินเป็นตัวสำคัญในการช่วยย่อยสลาย และเป็นตัวช่วยทำละลายแร่ธาตุและสารอาหารในดิน เพื่อให้รากพืชนำไปใช้ได้
สรุปโดยรวม เมื่อฝนน้อยน้ำน้อยดินแห้ง พืชก็ตกที่นั่งลำบาก สามารถดูดอาหารจากดิน (ที่ก็มีอาหารน้อยอยู่แล้ว) เพื่อนำไปสร้างการเติบโดได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก หลายครั้งที่พืชเกิดความเครียดและหยุดการเจริญเติบโต หรือเสียหายเสื่อมโทรมถาวร
ไม่ใช่เพียงฝนตกมากน้อย ปริมาณน้ำฝนและความแห้งแล้งเท่านั้นที่มีผลต่อการอยู่รอดของพืช สภาพแวดล้อมอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ แสงแดด ความชื้นสัมพัทธ์ทั้งบนดินหรือในอากาศ หรือแม้แต่ความเป็นกรดด่าง pH valuesในดิน ล้วนมีผลต่อการสังเคราะห์อาหารจากดินของพืชแทบทั้งสิ้น
การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโลกไปสู่ความแห้งแล้ง ตามภาวะกาณ์โลกร้อนนี้ยิ่งนานวัน ยิ่งทวีความรุนแรง และก็เป็นแบบคาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งหลายต่อหลายครั้ง ในระยะช่วงไม่กี่ปีนี้ หลายเหตุการณ์มีระดับความรุนแรง แบบไม่ได้เกิดขึ้นมานานเป็นทศวรรษ หรือเป็นศตวรรษและแต่ละครั้งทำลายสมดุลของธรรมชาติหนักมากขึ้นเรื่อยๆ
Mycorrhizae เป็นสัมพันธภาพที่เกื้อหนุนกัน (symbiotic relationship) ระหว่างสิ่งมีชีวิต 3 กลุ่ม 1.รากพืช 2.เชื้อราและ 3.แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ ที่อยู่ในดินบริเวณรากต้นไม้ โดยจุลินทรีย์ในดิน ( mircro-organisms หรือ microbes ) จะเป็นตัวจักรสำคัญ เป็นตัวช่วยเร่งปฎิกิริยา สร้างความร่วมมือกันระหว่าง ให้ทำงานสอดประสานกัน ในสภาพแวดล้อม เป็นตัวช่วยสำคัญในการปรับสภาพสภาวะแวดล้อมที่ขาดสมดุล ของ 2 องค์ประกอบหลักในสภาพแวดล้อม ทั้งที่มีชีวิต BIOTIC และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ABIOTIC ให้เอื้อกับการอยู่รอดและเติบโตของพืช เช่น ทำลายเชื้อก่อโรคหรือแมลงศัตรูพืช ช่วยให้พืชสามารถปรับตัวให้ทนสภาวะแห้งแล้ง หรือดินเปรี้ยวดินเค็มได้ดีขึ้น
Biotic หรือองค์ประกอบที่มีชีวิต ประกอบด้วย
- ต้นพันธ์ หรือตระกูลพืช (species) ที่อยู่บริเวณนั้น
- กิจกรรมของมนุษย์หรือสัตว์ที่กระทำต่อสภาพแวดล้อม เช่น การเผาไถกลบ หรือการเล็มหญ้าของสัตว์
- พืชในแต่ละช่วงอายุ
- พยาธิสภาพหรือสุขภาพของพืช
Abiotic
- คุณภาพของดิน (ธาตุอาหารในดิน)
- สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
- สภาพดิน ความแห้ง ความชื้น ค่าความเป็นกรดด่าง
- สารเคมีตกค้าง โลหักหนัก ดินเปรี้ยวดินเค็ม เป็นต้น
จุลินทรีย์ตัวช่วย
หน้าที่หลักของจุลินทรีย์ในดิน (ซึ่งรวมถึงแบคทีเรีย ยีสต์ราในดินตามธรรมชาติ)ทำงานของมันแบบไม่มีวันหยุด เป็นตัวประสานให้ทั้ง 3 กลุ่มผู้เล่นใน Mycorrhizae ทำหน้าที่ได้เข้าขากัน symbiotic และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบในระบบนิเวศในดินบริเวณนั้น มาสร้างเป็นธาตุอาหาร ให้พลังงานพืชเพื่อเติบโต
ตัวจุลินทรีย์จะ metabolize โดยปล่อยเอนไซม์หลายชนิด บางตัวช่วยทำละลายฟอสเฟส (อนุภาคสำคัญของปุ๋ย) สร้างฮอร์โมนพืช ตรึงไนโตรเจน ช่วยพืชดูดซับน้ำ สารอาหาร พัฒนาราก และการแลกเปลี่ยนสารละลาย osmosis ช่วยให้พืชเข้าถึงธาตุอาหารในดิน (และปุ๋ย)ได้ และยังเพิ่มประสิทธิภาพของการนำสารอาหารในดิน(และปุ๋ย)ในบริเวณราก ไปใช้ได้ดีขึ้น ลดการใช้ปุ๋ยโดยรวม ขณะเดียวกันยังสามารถช่วยผลผลิตได้
ขณะเดียวกันก็เสริมสร้างภูมิต้านทานให้พืชทนต่อเชื้อโรคหรือหนอนพยาธิ ทำลายเชื้อโรคหรือแบคทีเรียก่อโรคและเป็นอันตรายที่ปะปนอยู่ในดิน
และจุลินทรีย์ธรรมชาติในดิน ยังแทบจะเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งเดียวที่ทนต่อสภาพแวดล้อมที่มีความเป็นกรดด่างขึ้นลง เปลี่ยนแปลงเร็วได้ดีมาก โดยมันมีกลไกปรับตัวเองแบบอัตโนมัติ ไม่เพียงให้สามารถทนอยู่กับสภาพกรดด่างรุนแรง ทั้งยังเป็นตัวปรับสมดุลสภาพแวดล้อมรอบตัวมัน เพื่อให้มันสามารถเจริญเติบโตดี ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผืนดินบริเวณนั้น มีสภาวะกรดด่างสมดุลดีขึ้น พืชพรรณกลับมาเจริญเติบโตได้
การค้นคว้าศึกษาเรื่อง Mycorrhizae เพื่อนำศาสตร์ความรู้นี้มาเป็น
Crop Probiotic ตัวช่วยในการช่วย *ปรับสมดุลของดิน* มีปัญหา ลดความเครียดของพืช โดยเฉพาะการปลูกพืชเชิงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเกษตรเชิงเดี่ยว stress & nutrient imbalance
มีการส่งเสริมงานวิจัยจากหลายสถาบัน เพื่อจะส่งเสริมการพัฒนาจุลินทรีย์สายพันธ์ที่ดีเป็น Active Constituents ที่สามารถส่งเสริม สภาวะ Mycorrhizae ทำให้รากพืชใช้ประโยชน์จากองค์ประกอบในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพิงปุ๋ยเคมีอันตราย รวมถึงยากำจัดศัตรูพืช ประหยัดต้นทุนการเพาะปลูก และเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบนิเวศน์
ปัจจุบันมี ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ Microbial Biostimulantในท้องตลาด มากมายหลายยี่ห้อ หลายชนิดก็เป็น จุลินทรีย์จากธรรมชาติ ที่พร้อมให้นำมาเลือกใช้เพื่อปรับปรุงสภาพดินได้แบบด่วน
ประเทศไทยร่ำรวยทรัพยากรพันธุกรรมทั้งพืชและจุลินทรีย์ที่รอให้นำมาใช้ หรือแบคทีเรียที่ดูดไนโตรเจนจากอากาศมาเป็นปุ๋ยอ้อยได้โดยไม่ต้องซื้อ ความรู้วิชาการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของเรา จึงสำคัญยิ่งในการปรับระบบการเพาะปลูกของประเทศในยุคโลกร้อน
ที่สำคัญ การที่เราใช้ปุ๋ยน้อยลง (รวมทั้งยากำจัดศัตรูพืช ยังช่วยลดปัญหาสารพิษตกค้างในอาหาร Food Toxicity ลดปัญหาการรับสารพิษของเกษตรกรขณะทำงาน Working Hazard และยังลดปัญหาดินเสื่อมโทรม ดินเค็ม ระยะยาว // เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่ต้องรับพิษภัยจากมลพิษ เคมีแปลกปลอม ก็จะสามารถฟื้นฟูตัวเองในระยะยาว
ที่มาของข้อมูล
TERI INSTITUTE
FRONTIERSIN.ORG
ติดตามสาระ GREENTIPS ไอเดียหลากหลายที่ 〜
𝕗𝕒𝕔𝕖𝕓𝕠𝕠𝕜 : Bio100
𝕚𝕘 : instagram.com/bio100plus
🆔 ʟɪɴᴇ : @bio100
🅱logger : bio100plus
🌐 : bio100percent
2 thoughts on “ดินเสื่อมโทรม จุลินทรีย์ช่วยได้”
Comments are closed.